9 / 100

ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด ของสหรัฐ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลกระทบของปัจจัยด้านวิถีชีวิตต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและอายุขัยเฉลี่ยในประชากรสหรัฐ ซึ่งวิจัยจากการตรวจสอบประวัติประชากรมากกว่า 120,000 คน พบว่าผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ เป็นประจำจะมีอายุที่ยืนยาวขึ้น 12-14 ปี ดังนั้นถ้าหากว่าคุณต้องการยืดอายุของคุณให้นานขึ้น ลองนำสิ่งที่เรากำลังจะบอกคุณ ไปทำดูนะครับ

.

5 วิธีที่ช่วยให้อายุยืนขึ้น

.

1.ดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอร์ 1-2 แก้วต่อวัน

อย่างที่เรารู้กันว่าการดื่มแอลกอฮอร์นั่นไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการดื่มในปริมาณมากๆ ซึ่งจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมและเกิดโรคมากมาย ตับแข็ง หัวใจ ความดัน ยิ่งดื่มติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เราตายได้ แต่ไม่ใช่ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอร์จะมีแต่ข้อเสียอย่างเดียว ผลวิจัยบอกว่าถ้าหากเราดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ไม่เกิน 1-2 แก้วต่อวัน โดยเฉพาะไวน์แดง จะมีสุขภาพดีขึ้นกว่าคนทีี่ไม่เคยดื่มเลย

2.ห้ามสูบบุหรี่ หรือ ถ้าเลิกได้ให้เลิกเลย

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุให้สุขภาพย่ำแย่และเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรง บุหรี่ยังนำไปสู่สิ่งเสพติดอย่างอื่นได้อีกด้วย แน่นอนว่าถ้าเราไม่สูบบุหรี่หรือเลิกบุหรี่ได้ สุขภาพของเราก็จะดีขึ้น ชีวิตก็จะยืนยาวขึ้น

3.ออกกำลังกายเป็นประจำ

หนึ่งในกระบวนการชะลอความแก่ แน่นอนว่าต้องมี การออกกำลังกาย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้ การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยให้ร่างกายของเราได้ปรับสมดุลและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง เช่น ความดัน โรคอ้วน โรคหัวใจ และยังมีผลทางด้านจิตใจอีกด้วย คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ บอกว่า เราควรออกกำลังกายวันละ 30 นาที หรือ

  • เดินเร็ว ๆ 150 นาที / สัปดาห์
  • 75 นาทีของการวิ่งออกกำลังกาย / สัปดาห์
  • 2+ ครั้งต่อสัปดาห์ของการฝึกความแข็งแกร่ง เล่นเวท ยกน้ำหนัก

4.ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

ควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักผลไม้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน นม ไข่ ที่ให้โปรตีนสูง ลดอาหารที่อาจเสี่ยงทำให้เกิดโรค เช่น อาหารหวาน มัน เค็ม ของทอด ของปิ้งย่าง อาจจะเป็นเรื่องยากสักหน่อยสำหรับ คนที่ชื่นชอบอาหาร เหล่านี้ แต่ถ้าทำได้สุขภาพของเราก็จะดีขึ้น ชีวิตก็จะยืนยาวขึ้นแน่นอน

5.รักษาดัชนีมวลกาย ค่า BMI ให้อยู่ในระดับที่ดี 

ดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index ) คือ การคำนวณ โดยการ ใช้ส่วนสูง หาร ด้วยน้ำหนักตัว โดยค่าที่ออกมาต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งมีด้วยกันดังนี้

อ้วนมาก (30.0 ขึ้นไป)

ค่อนข้างอันตราย เพราะเข้าเกณฑ์อ้วนมาก เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่แฝงมากับความอ้วน หากค่า BMI อยู่ในระดับนี้ จะต้องระวังการรับประทานไขมัน และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหากเลขยิ่งสูงกว่า 40.0 ยิ่งแสดงถึงความอ้วนที่มากขึ้น

 

อ้วน (25.0 – 29.9)

คุณอ้วนในระดับหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ถือว่าอ้วนมาก ๆ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วนได้เช่นกัน ทั้งโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

 

น้ำหนักเกิน (23.0 – 24.9)

พยายามอีกนิดเพื่อลดน้ำหนักให้เข้าสู่ค่ามาตรฐาน เพราะค่า BMI ในช่วงนี้ยังถือว่าเป็นกลุ่มผู้ที่มีความอ้วนอยู่บ้าง แม้จะไม่ถือว่าอ้วน แต่หากประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ก็ถือว่ายังมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ

 

น้ำหนักปกติ เหมาะสม (18.6 – 22.9)

น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคนไทยคือค่า BMI ระหว่าง 18.5-22.9 จัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ห่างไกลโรคที่เกิดจากความอ้วน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ น้อยที่สุด ควรพยายามรักษาระดับค่า BMI ให้อยู่ในระดับนี้ให้นานที่สุด

 

ผอมเกินไป (น้อยกว่า 18.5)

น้ำหนักน้อยกว่าปกติก็ไม่ค่อยดี หากคุณสูงมากแต่น้ำหนักน้อยเกินไป อาจเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย การรับประทานอาหารให้เพียงพอและออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ สามารถช่วยเพิ่มค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

.

ข้อมูลจากเว็ปไซต์ honestdocs.co

สูตรการคำนวนค่า BMI คลิ๊ก คำนวนค่าBMI

ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ สำหรับวิธีการมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ใครๆก็สามารถทำได้ ยังไงก็ลองนำไปใช้กันนะครับ

ขอบคุณที่ติดตาม

#Mr.P

 

error: Content is protected !!