5 / 100

5 ขั้นตอนสร้างความมั่นคงด้านการเงิน

ขั้นตอนที่ 1 รู้จักสถานทางการเงินของตัวเอง

โดยเริ่มต้นจากการสำรวจสินทรัพย์ของตนเอง โดยแบ่งสินทรัพย์ ออกเป็น 3 ประเภท

1.สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง ได้แก่ เงินสด เงินฝากในบัญชีออมทรัพย์ ทองคำ

2.สินทรัพย์เพื่อการลงทุน ได้แก่ หุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ กรมธรรม์ประกันชีวิต

3.สินทรัพย์เพื่อการใช้งาน ได้แก่ บ้านพร้อมที่ดิน รถยนต์

สำรวจหนี้สิน โดยแยกออกเป็นหนี้ระยะสั้น หนี้บัตรเครดิต หนี้เช่าซื้อสินค้า หนี้ระยะยาว

นำสินทรัพย์ และ หนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมดมาหักลบกัน ก็จะได้เป็น ความมั่นคงสุทธิ ที่เรามี

ความมั่นคงสุทธิ = สินทรัพย์รวม – หนี้สินรวม

ขั้นตอนที่ 2 ตั้งเป้าหมายทางการเงินของตัวเอง

โดยใช้หลักการ SMART ดังนี้

Specific  =     บอกเป้าหมายที่ชัดเจนด้านการเงิน ว่าต้องการอะไร

Measurable     =     สามารถวัดผลในรูปแบบของตัวเงินได้

Accountable    =      เป็นสิ่งที่เราต้องการและเป็นประโยชน์ต่อเราจริงๆ

Realistic         =      ต้องทำได้ สอดคล้องกับความเป็นจริง

Time bound    =      มีกรอบเวลากำหนดในการบรรลุเป้าหมายอย่างชัดเจน

นอกจากจะใช้หลักการตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังต้องมีการลำดับความสำคัญของเป้าหมายและความจำเป็นในการใช้เงินอีกด้วย

ขั้นตอนที่ 3 จัดทำแผนการเงิน

ต้องจัดทำแผนการเงินให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ เช่น ต้องการวางแผนการเงินเพื่อการศึกษาของบุตร ควรเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายนั้นได้ อาทิ เช่น ต้องการออมเงินผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เพื่อประกันว่าลูกของเราจะมีทุนการศึกษาไว้เรียนจนจบได้อย่างแน่นอนไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเราก็ตาม จากนั้นกำหนดวิธีบริหารจัดการเงิน โดยนำข้อมูลบัญชีรายรับรายจ่ายมาพิจารณาดูว่า เราจะนำเงินส่วนใดมาใช้ได้บ้าง

ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการตามแผน

หลังจากที่ได้จัดทำแผนการเงินไว้อย่างดีแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ดำเนินการตามแผนที่ได้จัดทำเอาไว้อย่างเคร่งครัด แต่ไม่ต้องถึงขั้นเคร่งเครียดมากจนเกินไป ควรมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ และติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเพื่อตรวจสอบว่า เราสามารถดำเนินการตามแผนได้มากน้อยเพียงใด

ขั้นตอนที่ 5 ทบทวนและปรับปรุงแผนอย่างสม่ำเสมอ

มีการทบทวนและปรับปรุงแผนการเงินอยู่เสมอ อย่างน้อย ทุกๆ 6 เดือน เพื่อพิจารณาว่ามีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง ที่เกิดขึ้น และต้องดำเนินการแก้ไข เช่น มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น แต่รายได้ลดลง ควรจะต้องทำยังไงให้สามารถทำตามแผนที่วางเอาไว้ได้  จะสามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นอะไรได้บ้าง จะทำงานอะไรเพื่อเพิ่มรายรับให้มากขึ้น เป็นต้น

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ตามที่ต้องการ ขอแนะนำสูตรและเทคนิคการออมเพื่อช่วยประเมินสร้างวินัยการออม ให้ทุกคนมีเงินออมที่เหมาะสมตามช่วงอายุ ดังนี้

เงินออมที่ควรมี = 1/10 X อายุปัจจุบัน X รายได้ทั้งปี

 

ตัวอย่าง

อายุ 35 ปี รายได้เดือนละ 30,000 บาทรวมรายได้ตลอดปี เท่ากับ 30,000×12 = 360,000 ควรมีเงินออมที่เหมาะสมดังนี้

เงินออมควรมี1 x 35 x 360000      =     1,260,000

10

หากใครมีเงินออมในตอนนี้มากกว่าเงินออมที่ควรมีตามสูตรนี้ ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีแต่ถ้าหากใครยังมีไม่ถึงหรือไม่มีเงินออมเลยก็ไม่ต้องท้อใจไป ขอให้เริ่มต้นเก็บออมตอนนี้ก็ยังไม่สาย เพียงมีความตั้งใจและมุ่งมั่น เชื่อว่าทุกอย่างจะเป็นจริงได้ ตามที่ใจต้องการ ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

 

 

 

 

 

 

 

error: Content is protected !!