25 / 100

พฤติกรรมการรับประทานอาหาร มีส่วนอยากมากกับปัญหาเรื่องสุขภาพคอลเรสเตอรอล ก็เป็นสารอาหารตัวหนึ่งที่อยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไปทุกๆวันมันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ก่อนที่เราจะรู้ว่า ระดับ คอลเรสเตอรอล ที่สูงเกินไปนั้นส่งผลกับสุขภาพของเราอย่างไร เรามาทำความรู้จักกับ สารอาหารตัวนี้กันก่อนครับ

.
คอเรสเตอรอล   (cholesterol) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้ในผนังเซลล์ของทุกเซลล์ในร่างกายของเรา ซึ่งเราสามารถได้รับ คอเรสเตอรอล จากการ   รับประทานอาหาร และ ร่างกายของเราเองก็สามารถผลิตไขมันชนิดนี้ได้เอง ดั้งนั้นถ้าเราได้รับคอลเรสเตอรอลจากการรับประทานอาหารมากจนเกินไป    มันก็จะกลายเป็นส่วนเกินของร่างกายสะสมจนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆได้
.
คอเรสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ด้วยกันคือ
1.LDL ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะจะเกาะตัวตามผนังของหลอดเลือดแดง ทำให้ความยืดหยุนเสียไป เกิดการอุดตันของเส้นเลือด
2.HDL ช่วยกันการเกาะตัว ของ LDL ทำให้หลอดเลือดไม่อุดตัน
.
เราสามารถตรวจระดับของ คอเรสเตอรอล ได้จากการตรวจเลือด โดยค่าปกติของเราต้องไม่เกิน 200 mg/dl

ทั้งนี้ก่อนไปตรวจควร อดอาหารและน้ำ อย่างน้อย 12 ชั่วโมง
.
เมื่อเรารู้จักกับ คอเรสเตอรอลแล้ว ต่อไปเราก็มาดูกันว่า พฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำให้เราเกิดภาวะ คอเรสเตอรอลสูงนั้นมีอะไร  บ้าง

1.ทานอาหารที่มีไขมันสูง
อาหารไขมันสูง มีอะไรบ้าง ส่วนใหญ่อาหารที่มีไขมันสูงก็จะเป็นอาหารประเภท ทอด เนย อาหารทะเล (ยกเว้นปลา) หนังสัตว์ และนมที่ไม่พร่องมันเนย   อาหารเหล่านี้ไม่ควรทานบ่อยจนเกินไป หากหลีกเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงไปเลยก็ดี

1

2.อาหารรสหวานจัด
ก็ได้ แก่ขนมต่างๆที่มีรสหวาน น้ำตาล หรือแม้แต่กระทั้งอาหารที่ใช้น้ำตาลเป็นเครื่องปรุง อย่างเช่น พะโล้ เป็นต้น

2

3.ทานอาหารพวกแป้งเยอะเกินไ
เรารุ้ดีว่าแป้ง หรือ คาร์โบไฮเดส นั้นคือแหล่งพลังงานชั้นดี แต่ถ้าเราไม่ใช่คนที่ต้องใช้แรงงานหนัก ก็ไม่ควรทานอาหารจำพวกนี้มากจนเกินไป  หากร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดส จำนวนมากและไม่สามารถนำไปใช้ได้หมดก็จะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน หรือ ความดันได้

3

 

4.ไม่ชอบทานผัก

ผักและผลไม้นั้นมีกากใยตามธรรมชาติช่วยให้ร่างกายสามารถขับถ่ายได้ง่าย และในผักผลไม้ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ดั้งนั้นคนที่ไม่ชอบทานผักเลยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาทานผักบ้างก็จะช่วยลดปริมาณคอเรสเตอรอลลงได้

4
5.ไม่ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายนั้นสามารถช่วยลดปริมาณ คอเรสเตอรอล LDL ลงได้และช่วยเพิ่มปริมาณ คอเรสเตอรอล HLD ที่มีไขมันดีให้เพิ่มขึ้น โดยควรทำต่อเนื่อง 20-40 นาที/ครั้ง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสุขภาพดี โรคภัยต่างๆก็จะไม่มีเบียดเบียน

5
การไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ ที่สุด อย่าลืมดูแลสุขภาพกันนะครับ
ด้วยความห่วงใย
#Mr.P
error: Content is protected !!